เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) รุ่นแรก
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ร้านบูรพาจารย์ | |||||||||||||||
โดย
|
klun_klui | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระวัดป่าทั่วไป | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) รุ่นแรก |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) เหรียญวัตถุมงคลของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) พระเครื่องที่ได้จัดสร้างไว้ และเป็นที่นิยมกันมากในบรรดาเซียนพระ โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2477 เรื่องพุทธคุณเหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ โดดเด่นในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย สยบสิ่งอัปมงคล ปกป้องโรคภัยไข้เจ็บ โดยเหรียญมีลักษณะ เนื้อทองแดงกะไล่เงิน คล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นั่งสมาธิบนอาสนะ ด้านหลังเป็นยันต์ พระเครื่องเหรียญรุ่นดังกล่าว นับว่าหายากมาก ค่านิยมอยู่ที่ประมาณการเลข 5 หลัก นอกจากนี้ ยังมีเหรียญรุ่นสอง ปี พ.ศ.2482 เนื้อทองแดง และบล็อกหน้ายุบในปีเดียวกัน เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) รุ่นสาม จัดสร้างปี พ.ศ.2493 เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของท่าน มีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ครึ่งองค์ มีข้อความ "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล)"ด้านหลังลงยันต์ มีตัวเลข "2493" ยังมีเหรียญรุ่นที่ 4 ปี พ.ศ.2495 และเหรียญพระศรีอารยเมตไตรย ปี พ.ศ.2500 เหรียญสองรุ่นนี้ ยังสามารถเสาะหากันได้ง่าย ราคาอยู่ที่ 3-4 หลัก ประวัติสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิม อ้วน แสนทวีสุข เกิด ณ หมู่บ้านหนองแคน ต.ดอนมดแดง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี อายุ 19 ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านสว่าง อ.วารินชำราบ จ.อบุลราชธานี เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่ วัดศรีทอง เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและอักษรสมัยที่ พระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นเจ้าอาวาส กระทั่งอายุครบบวช เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2430 อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีทอง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี, พระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโชติปาลเถร (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระอุทเทสาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ติสโส" สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ท่านเป็นพระมหาเถระที่มีความองอาจเด็ดขาดในจิตใจมาก กล่าวคือ การภาวนาธรรม ท่านเคยได้ศึกษาหาความรู้มาจากพระอุปัชฌาย์ (ม้าว) นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาหลักปฏิบัติอยู่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ถือได้ว่าท่านมีพื้นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมภาวนามาก่อนอย่างแนบแน่น แต่เป็นที่น่าเสียดาย ท่านต้องมาทิ้งช่วงในการปฏิบัติสมาธิกัมมัฏฐาน ในระหว่างรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลอีสานนี้เอง ต่อมาได้มาอยู่จำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้หันจิตเข้าแนวทางปฏิบัติธรรมอีกครั้ง แต่ด้วยอาการอาพาธ จึงมองเห็นคุณอันยิ่งใหญ่ในการภาวนาธรรม การที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์หายได้ เพราะธรรมโอสถโดยแท้ นับความเป็นเอกอุดมในช่วงชีวิตสุดท้ายของท่าน ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้กล่าวรับรองว่า "การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางออกเพื่อความพ้นทุกข์ แม้บุคคลใดได้น้อมนำประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ย่อมบังเกิดธรรมดีมีคุณค่าอย่างมหาศาล แม้บุคคลใดมีความอ่อนกำลังลงด้วยโลกธรรม 8 ประการ ประการเป็นเหตุสมาธินั้นย่อมไม่สมควรปรารถนาของตนได้ฉันนั้น" นี้เป็นความจริงแท้ในสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์ก็ยังต้องทรงเจริญความเพียรอยู่เป็นนิตย์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ท่านอาพาธเนื่องด้วยโรคชราเริ่มกำเริบแต่วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2498 เป็นต้นมา และมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2499 เวลา 18.45 น. สิริอายุ 89 ปี พรรษา 68 |
|||||||||||||||
ราคา
|
โทรถาม | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
088 400 9967 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0882608801 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
5,224 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 499-2-04111-6
|
|||||||||||||||
|